Page 17 - ผลงานการถอดบทเรียนการจัดการดินเพื่อปลูกพืชสมุนไพร : เผยแพร่ในวันครบรอบสถาปนา 61 ปี วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาที่ดิน เกษตรกรทำกินอย่างยั่งยืน"
P. 17
15
การถอดบทเรียนขมิ้นชัน
ต าบลเขาวง อ าเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
1. ชื่อผู้เล่า : นางลัดดา ฤทธิกุล
2. ชื่อเรื่อง : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขมิ้นชันปลอดสารพิษ
3. การด าเนินการเกี่ยวกับ : การผลิตและแปรรูปขมิ้นชันปลอดสารพิษ
4. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ : เริ่มจัดตั้งกลุ่มเมื่อปี 2542
5. สถานที่ : บ้านวังขุม หมู่ที่ 5 ต าบลเขาวง อ าเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
6. วันที่จดบันทึกเรื่องเล่า : 19 มีนาคม 2567
7. ความเป็นมาของเหตุการณ์นั้น มีความเป็นมาอย่างไร มีแรงบันดาลใจอะไรในการด าเนินการเรื่องนี้
ปี 2542 ส านักงานเกษตรอ าเภอบ้านตาขุน ได้น าเกษตรกรไปศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลอภัยภูบศร หมู่ที่ 12 ต าบล
ท่างาม อ าเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งนายวินัย ฤทธิกุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 มีความสนใจเนื่องจากกระแสนิยม
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีเพิ่มมากขึ้น ขมิ้นชัน ถือเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก จนเป็น 1 ใน 12 ชนิด
ของสมุนไพรเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ปี 2548–2552) เนื่องจาก
มีประโยชน์หลายด้านทั้งการบริโภคในครัวเรือน อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องส าอาง ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ก็ปลูกขมิ้นชัน
ไว้ส าหรับบริโภคเพราะเป็นสมุนไพรที่ชาวใต้ใช้ประกอบอาหาร จึงส่งเสริมและสนับสนุนพันธุ์ขมิ้นชัน รายละ 80
กิโลกรัม จ านวน 12 ราย ให้เกษตรกรรวมกลุ่มปลูกขมิ้นชันปลอดสารพิษจ าหน่ายเป็นรายได้เสริม โดยปลูกขมิ้นชันเป็น
พืชแซมในสวนยางพารา สวนปาล์มน้ ามัน ที่ปลูกใหม่ซึ่งยางพาราและปาล์มน้ ามันต้องใช้ระยะเวลากว่าจะให้ผลิตผลิต
รวมทั้งขมิ้นชันเป็นพืชที่ปลูกง่าย ต้านทานโรคและแมลง สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรในชุมชน หลังจากนายวินัย
ฤทธิกุล เสียชีวิต ต่อมานางลัดดา ฤทธิกุล และบุตรได้ด าเนินการจนเกิดความเข้มแข็ง ต่อมากรมส่งเสริมการเกษตรได้
จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขมิ้นชันปลอดสารพิษ สนับสนุนให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร
(ศพก.) และโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (ขมิ้นชัน) โดยมีสมาชิกจ านวน 30 ราย ครอบคลุมพื้นที่
บ้านสวนทุเรียน หมู่ที่ 1 บ้านบางสาว หมู่ที่ 2 และบ้านเขาวง หมู่ที่ 5 ต าบลเขาวง อ าเภอบ้านตาขุน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี