Page 14 - ผลงานการถอดบทเรียนการจัดการดินเพื่อปลูกพืชสมุนไพร : เผยแพร่ในวันครบรอบสถาปนา 61 ปี วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาที่ดิน เกษตรกรทำกินอย่างยั่งยืน"
P. 14
12
12. ปัญหาอุปสรรคในการท าการเกษตร และแนวทางการแก้ไข
1) ปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ าฤดูเพาะปลูก การแก้ไขโดยเช็คปริมาณฝนก่อนการเพาะปลูก โดย
ลดพื้นที่เพาะปลูก และจัดการแปลงปลูกพืชสมุนไพรโดยใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน และใช้น้ าอย่าง
คุ้มค่าด้วยวิธีปลูกผักได้แก่ พริกและผักชีแซมบนร่อง ข้าวโพดหวาน และกระเจี๊ยบในร่องสมุนไพร ท าให้มี
รายได้เพิ่มขึ้นจากปัญหาดังกล่าวท าให้พื้นที่ปลูกสมุนไพรลดลงทุกปีๆ รวมถึงการคลุมดินด้วยฟางทันทีหลัง
ปลูกพริก อัตรา 30-40 ก้อนต่อไร่ เพื่อรักษาความชื้นหน้าดิน
2) โรคพืช ได้แก่โรคเน่า และใบกรอบ โรคแมลงได้แก่ หนอนกอ การแก้ไขโดย การสลับย้ายแปลง
ปลูกพืชสมุนไพรทุก ๆ ปี เป็นการป้องกันโรคพืชเพื่อลดการสูญเสียผลผลิต
13. บทสรุปหรือสาระส าคัญที่ได้จากการเรื่องเล่านี้คืออะไร
ท าการเกษตรแบบอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงใดๆ ท าให้สุขภาพดี เป็นการรักษา
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สัตว์ต่างๆ ทั้งบนดินและในดิน ก็สามารถอยู่อาศัยภายในแปลง เกิด
สมดุลระบบนิเวศน์ และเป็นศูนย์การเรียนรู้ จุดสาธิตการผลิตและการแปรรูปสมุนไพร เพื่อให้เกษตรกรผู้
ปลูกสมุนไพรได้เรียนรู้เทคโนโลยี รวมทั้งการตั้งธนาคารพันธุ์สมุนไพรบริการให้สมาชิกในกลุ่มฯ เพื่อใช้
ปลูกในฤดูกาลต่อไป การใช้น้ าหมักและปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ช่วยลดต้นทุนในการผลิต และ
ศึกษาแนวโน้มราคาตลาด มีจุดจ าหน่ายสินค้าหน้าแปลง ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกพืชสมุนไพรด่านตะโก
มีกิจกรรมย่อยจัดกระบวนการเรียนรู้ได้แก่ ถ่ายทอดความรู้พืชสมุนไพร การผลิตสมุนไพรตามมาตรฐาน
GAP การเพิ่มมูลค่าการแปรรูปสมุนไพร เป็นศูนย์ฝึกทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ และยังมีการแปรรูปสินค้า
ผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ จนมีการต่อยอดก่อตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ PGS ขึ้นในปัจจุบัน การถ่ายทอด
ความรู้และสาธิต ( การท าชาตะไคร้และการกลั่นน้ ามันตะไคร้ ) ตลอดจนการแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้าช่วย
ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น