Page 12 - ผลงานการถอดบทเรียนการจัดการดินเพื่อปลูกพืชสมุนไพร : เผยแพร่ในวันครบรอบสถาปนา 61 ปี วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาที่ดิน เกษตรกรทำกินอย่างยั่งยืน"
P. 12
10
8. การเพิ่มผลผลิตพืชในชุดดินพื้นที่ทางการเกษตรของท่าน ท่านได้ใช้ความรู้ ทักษะ หรือพฤติกรรมอะไรและ
ท าอย่างไรให้ประสบความส าเร็จ
ได้รับองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน ได้แก่ ความรู้ในการปรับปรุงคุณภาพดิน และลดต้นทุนการผลิต
กิจกรรม การผลิตปุ๋ยหมัก และน้ าหมักชีวภาพ การปรับปรุงพื้นที่ดินกรด (โดโลไมท์) รวมทั้งการบริการวิเคราะห์
ดินและให้ค าแนะน าการจัดการดิน การจัดการฟางและตอซัง รวมถึงการอนุรักษ์ดินและน้ า โดยเริ่มจาก
การศึกษาข้อมูลของพื้นที่โดยการเก็บตัวอย่างดินไปตรวจวิเคราะห์เพื่อให้ได้ค าแนะน าการจัดการดิน พบว่าที่
แปลงสมุนไพร เป็นชุดดินเขาพอง (Kpg) เป็นดินร่วนปนทราย ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินเป็นกรดเล็กน้อย
(pH 5.5-6.5) มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า และพื้นที่อยู่นอกเขตชลประทาน จ าเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพดินให้มีความ
อุดมสมบูรณ์ของดินดีขึ้น โดยมีวิธีการดังนี้
1) การเตรียมแปลงปลูกขมิ้นชันและไพลช่วงเดือน มกราคม -มีนาคม ปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมด้วย
ปุ๋ยหมักแล้วไถดะ 2 ครั้ง โดยใช้ไถผาน 3 ยกร่องสูงประมาณ 30 x 50 เซนติเมตร หลังปลูกสมุนไพรจะใช้ฟาง
คลุมทันทีเพื่อช่วยรักษาความชื้นดินในช่วงหน้าแล้ง
2) การจัดการดินในแปลง ใช้ปุ๋ยอินทรีย์โดยผลิตปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 โดยวัตถุดิบในการท า
ปุ๋ยหมักจะน ามาจากภายในแปลงของหมอดินเองทั้งกากอ้อย และขี้วัว เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีจาก
นอกแปลงเข้าสู่แปลง หว่านปอเทืองเพื่อเป็นพืชปุ๋ยสดปีเว้นปี เป็นการปรับปรุงบ ารุงดินและโครงสร้างของดิน
เพิ่มอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารให้แก่ดิน และก่อนฤดูการปลูกข้าวในแต่ละปีหมอดินจะเก็บตัวอย่างดินเพื่อส่ง
ตรวจวิเคราะห์ค่าความเป็นกรดเป็นด่างด้วย หากปีไหนดินเป็นกรด ต่ ากว่า 5.5 จะมีการใส่ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับ
สภาพดินก่อนปลูกพืชสมุนไพร ส่วนการก าจัดวัชพืชจะใช้ฟางคลุมทับเพื่อรักษาความชื้นในดิน
3) การจัดการน้ า เนื่องจากพื้นที่ปลูกอยู่นอกเขตชลประทาน อาศัยน้ าฝนเป็นหลัก ถ้าปีไหนแล้งมากจะ
ปลูกพืชผักในร่องสมุนไพร ได้แก่ ข้าวโพด พริก ผักชีและใช้น้ าประปารดแปลงผัก ท าให้แปลงสมุนไพรได้รับน้ า
นอกจากได้รายได้จากแปลงสมุนไพร สามารถเก็บผักมาขายและไว้บริโภคเองได้ด้วย
4) การจัดการธาตุอาหารพืช โรคแมลงและโรคพืช ผลิตน้ าหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จาก
พืชผัก ผลไม้ภายในแปลงน ามาท าน้ าหมักใช้ในการช่วยการเจริญเติบโตของพืช และผลิตสารไล่แมลงจากสารเร่ง
ซุปเปอร์พด.7 จากมะกรูด หนอนตากหยาก บอระเพ็ด และตะไคร้หอม ฉีดพ่นในช่วงฤดูแมลงระบาดในร่องผัก
รวมถึงการก าจัดวัชพืชในช่วงหน้าแล้วจะปล่อยให้แปลงสมุนไพรรกเพื่อรักษาระบบนิเวศและความชื้นในดิน