Page 4 - ผลงานการถอดบทเรียนการจัดการดินเพื่อปลูกพืชสมุนไพร : เผยแพร่ในวันครบรอบสถาปนา 61 ปี วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาที่ดิน เกษตรกรทำกินอย่างยั่งยืน"
P. 4

2





        8. การเพิ่มผลผลิตพืชในชุดดินพื้นที่ทางการเกษตรของท่าน ท่านได้ใช้ความรู้ ทักษะ หรือพฤติกรรมอะไรและท า
        อย่างไรให้ประสบความส าเร็จ


                   แรกเริ่ม (ปี 2561) หลังจากท าสัญญากับบริษัทผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จ ากัด ได้ด าเนินการปลูกฟ้า
        ทะลายโจรเป็นพืชแซมในป่ายาง จ านวน 15 ไร่ โดยซื้อเมล็ดพันธุ์จาก อ.ก าแพงแสน จังหวัดนครปฐม

        จ านวน 10 กิโลกรัม ต่อมาปี 2562-2565 ลดพื้นที่ปลูกเหลือ 2 ไร่ เก็บเกี่ยวครั้งแรกเมื่ออายุ 3 เดือน โดยมีขั้นตอน
        และวิธีการดังนี้


                   8.1 ข้อมูลดิน
                      ดินที่พบในพื้นที่ คือ กลุ่มชุดดินที่ 48  ชุดดินโกสัมพี เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวก

        ตะกอนน้ าพัดพา สภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 1-20 % เป็นดินตื้นถึงชั้นลูกรัง

        หนาแน่น ดินบนเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ าตาล ดินล่างเป็นดินร่วนปนทรายถึงดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนปน
        ดินเหนียว และมีลูกรังหรือเศษหินกลมมนที่ถูกเคลือบด้วยสารประกอบออกไซด์ของเหล็ก สีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยา

        ดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด  (pH 4.5-5.5)  ตลอดหน้าตัดดิน ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวใช้ประโยชน์เป็นศูนย์เรียนรู้
        เกษตรอินทรีย์ PGS และท าเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน รวมทั้งปลูกฟ้าทะลายโจรในป่ายาง เป็นต้น

                   8.2 ปัญหาดินที่พบในแปลงปลูกฟ้าทะลายโจรและแนวทางการแก้ปัญหา
                      1) ปัญหาดินตื้น ดินมีกรวดเหลี่ยมปะปนอยู่หนาแน่นมาก รากพืชชอนไชได้ยาก

                         แนวทางการแก้ปัญหา

                         (1.1) ปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน แล้วสับกลบลงดิน
                         (1.2) ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก

                         (1.3) ปลูกพืชแล้วคลุมดินด้วยฟางข้าว ใบหญ้าแฝก เพื่อรักษาความชื้นในดิน
                         (1.4) เลือกปลูกพืชที่ระบบรากตื้น และปลูกพืชหลากหลายชนิดผสมผสาน

                      2) ปัญหาความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ า เนื่องจากชุดดินโกสัมพี เป็นดินตื้นถึงลึกปานกลาง
        พบลูกรังหนาแน่นตั้งแต่ประมาณ 30-60 เซนติเมตรจากผิวดิน ประกอบกับมีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินเพื่อท า

        การเกษตร และใช้สารเคมีเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน รวมทั้งขาดการปรับปรุงบ ารุงดิน

                        แนวทางการแก้ปัญหา
                        (2.1) การเก็บตัวอย่างดิน เพื่อตรวจสอบวิเคราะห์ดินเป็นแนวทางในการปรับปรุงดิน และการใช้

        ปุ๋ยในแปลงเกษตรกรรมอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต
                        (2.2) การใช้โปรแกรมดินไทยและปุ๋ยรายแปลง เพื่อหาแนวทางการจัดการดิน  ค าแนะน าการใช้

        ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
                        (2.3) การใส่ปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี และเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน

                        (2.4) การใช้น้ าหมักชีวภาพ เพื่อปรับปรุงบ ารุงดิน และลดการใช้ปุ๋ยเคมี

                        (2.5) การปลูกปอเทืองเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดในการปรับปรุงบ ารุงดิน เพิ่มอินทรียวัตถุ และธาตุอาหาร
        ปรับโครงสร้างของดินท าให้ดินร่วนซุย

                        (2.6) การไถกลบตอซังพืชหลังจากขบวนการเก็บเกี่ยว เพื่อช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9