Page 2 - ผลงานการถอดบทเรียนการจัดการดินเพื่อปลูกพืชสมุนไพร : เผยแพร่ในวันครบรอบสถาปนา 61 ปี วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาที่ดิน เกษตรกรทำกินอย่างยั่งยืน"
P. 2
ค าน า
ประเทศไทยมีการปลูกพืชสมุนไพร 89 ชนิด มีการส่งออกวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพและ
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คิดเป็นมูลค่ากว่า 12,211 ล้านบาท
ในส่วนของแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2570 ก าหนด เป้าหมายพื้นที่
ปลูกพืชสมุนไพรที่ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 50,000 ไร่
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการจัดท าเขตความเหมาะสมส าหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจที่
ส าคัญและมีพืชที่น่าสนใจ เป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน ได้แก่ ข้าว มันส าปะหลัง อ้อย ยางพารา
ปาล์มน้ ามัน สับปะรด กาแฟ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไม้ผล มะพร้าว ทุเรียน ผัก ล าไย และสมุนไพร โดย
ขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยเป็นศูนย์กลางการเกษตรและอาหารของโลก อย่างไรก็ตาม สมุนไพรไทย
ยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ คุณภาพวัตถุดิบไม่ผ่านมาตรฐาน และปัญหาด้านการก าหนด
มาตรฐานคุณภาพวัตถุดิบ เนื่องมาจากมีการบริหารจัดการสมุนไพรที่ไม่เป็นระบบ พื้นที่ปลูก
ไม่เหมาะสม และปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้ผลผลิตต่ า ไม่เพียงพอต่อความ
ต้องการของตลาด กรมพัฒนาที่ดินมีภารกิจด้านปรับปรุงบ ารุงดิน การอนุรักษ์ดินและน้ า การใช้
นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อส่งเสริมให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้อย่างเหมาะสม
ยั่งยืน สามารถเพิ่มผลผลิต ตลอดจนมีคุณภาพเป็นที่ต้องการตลาด และองค์ความรู้การจัดการดินของ
หมอดินอาสา หรือเกษตรกร สามารถเป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่นๆ ได้น าองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ ต่อยอด
เป็นแปลงทดลองเชิงสาธิตได้
ในส่วนของการขับเคลื่อนการศึกษาและพัฒนาพืชสมุนไพรทางการแพทย์นั้น กรมพัฒนาที่ดินได้
ร่วมมือกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ในการวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ส าคัญของพืชสมุนไพร เพื่อเป็นการยืนยัน
ในด้านคุณภาพของพืชสมุนไพร เนื่องจากการบริโภคพืชสมุนไพรในประเทศไทย ปี 2565 มีมูลค่าสูงถึง
52,104.3 ล้านบาท เพื่อสร้างการรับรู้การจัดการดิน และจัดการเทคโนโลยีทางการเกษตรในการผลิตพืช
สมุนไพรที่มีคุณภาพ จึงได้มีการศึกษาองค์ความรู้โดยการถอดบทเรียนหมอดินอาสา/กลุ่มเกษตรกรที่
ประสบผลส าเร็จในการผลิตพืชสมุนไพร ซึ่งได้มีการรวบรวมองค์ความรู้ด้านการผลิตพืชสมุนไพรไว้ใน
หนังสือ (E-book) ฉบับนี้ เพื่อใช้เผยแพร่ในวันครบรอบสถาปนา 61 ปี พัฒนาที่ดิน เกษตรกรท ากิน
อย่างยั่งยืน ซึ่งคณะผู้จัดท าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ที่อ่านหนังสือฉบับนี้จะได้รับความรู้ และน าไปใช้
ประโยชน์ในการพัฒนาการผลิตพืชสมุนไพรต่อไป