Page 26 - ผลงานการถอดบทเรียนการจัดการดินเพื่อปลูกพืชสมุนไพร : เผยแพร่ในวันครบรอบสถาปนา 61 ปี วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาที่ดิน เกษตรกรทำกินอย่างยั่งยืน"
P. 26

24



                             การถอดบทเรียนการปลูกพืชสมุนไพร


                                      สถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท




     1.ชื่อผู้เล่า  :  นายสายชล ปิ่นนาค  เจ้าพนักงานการเกษตรช านาญงาน /นางสาวดรุณี อ่อนศรี นักวิชาการเกษตร



     2.ชื่อเรื่อง  :  ชัยนาทเมืองสมุนไพร



     3.เป็นการด าเนินงานเกี่ยวกับ : การจัดท าแปลงสาธิตการจัดการดิน น้ า ปุ๋ย เพื่อผลิตสมุนไพรคุณภาพสูง “ขมิ้นชัน”



     4.เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ  :
               การด าเนินงานตามโครงการชัยนาทเมืองสมุนไพร  เริ่มด าเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นการ
     ต่อยอดโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาที่ดินในการปลูกฟ้าทะลายโจร  เพื่อช่วยสนับสนุนการรักษาป้องกัน

     โรคโควิด-19  โดยจังหวัดชัยนาทมีศักยภาพด้านการเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
     และมีพื้นที่เกษตรกรรม 1,241,728  ไร่ คิดเป็นร้อยละ 80.42  ของพื้นที่ทั้งจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตชลประทาน

     784,249  ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 63.18 ของพื้นที่การเกษตร โดยพื้นที่ทางการเกษตรของจังหวัดชัยนาทแยกเป็นพื้นที่
     ส าหรับการปลูกข้าว ร้อยละ 66.54 และจังหวัดชัยนาทได้ก าหนดต าแหน่งการพัฒนาด้านการเกษตรว่า “ผลิตสินค้า
     เกษตรมีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน” โดยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) อย่างไรก็ตาม เกษตรกรในจังหวัดชัยนาท

     ประสบปัญหาต้นทุนการผลิตข้าวสูง  ซึ่งรวมถึงค่าแรงเกษตรกรและค่าเช่าที่ดินเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
              การส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชสมุนไพรที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้าง

     อาชีพ สร้างรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และเป็นอีกกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อการ
     พึ่งตนเองของชุมชนและการแข่งขันอย่างยั่งยืน ซึ่งสมุนไพรดังกล่าว สามารถน ามาใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านสุขภาพและ
     ผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยพื้นที่จังหวัดชัยนาทอุดมสมบูรณ์เอื้อต่อการปลูก/การผลิตสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สมุนไพร  โดยมี

     แหล่งปลูกพืชสมุนไพรที่ได้มาตรฐานส าหรับการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรกระจายอยู่ในพื้นที่อ าเภออื่นๆ อีกบางส่วน
     และในปี 2561-2564  ได้ด าเนินงานขยายพื้นที่การปลูกสมุนไพร จ านวน 300 ไร่ ครอบคลุม 8 อ าเภอ และในป่าชุมชน

     อีกจ านวน 150 ไร่ ครอบคลุม 3 อ าเภอ (อ าเภอเนินขาม อ าเภอหนองมะโมง และอ าเภอสรรพยา) และมีการถ่ายทอด
     องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการปลูกสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพรแก่เกษตรกร จ านวน 300 ราย ทั้งนี้ สมุนไพรแนะน า
     ปลูกเพื่อใช้ในการผลิตยาสมุนไพร ได้แก่ มะระขี้นก ขมิ้นชัน ไพล ฟ้าทะลายโจร เพชรสังฆาต กระเจี๊ยบแดงหญ้าดอกขาว

     และรางจืด ซึ่งมูลค่าความต้องการการจัดซื้อวัตถุดิบสมุนไพรในปี  2551-2564 เท่ากับ 787,561.50 บาท
     950,700 บาท 1,121,080 บาท 1,065,500 บาท และ 970,130 ตามล าดับ



     5. สถานที่  :  สถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท  83 หมู่ 1 ต าบลหนองมะโมง อ าเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท



     6. วันที่จดบันทึกเรื่องเล่า  :  3 เมษายน  2567
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31