Page 27 - ผลงานการถอดบทเรียนการจัดการดินเพื่อปลูกพืชสมุนไพร : เผยแพร่ในวันครบรอบสถาปนา 61 ปี วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “พัฒนาที่ดิน เกษตรกรทำกินอย่างยั่งยืน"
P. 27
25
7. เขียนเล่าความเป็นมาของเหตุการณ์นั้น มีความเป็นมาอย่างไร มีแรงบันดาลใจอะไรในการด าเนินการเรื่องนี้
การด าเนินงานมีแรงบันดาลใจ หลังจากสถานการณ์โควิดในปี พ.ศ.2564 กรมพัฒนาที่ดินได้สนับสนุน
งบประมาณในการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร เพื่อแก้ปัญหาความเจ็บป่วยในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และกอรปกับ
จังหวัดชัยนาทด าเนินงานตามโครงการชัยนาทเมืองสมุนไพร จึงท าให้เกิดแนวคิดในการต่อยอดการปลูกพืชสมุนไพรจาก
แปลงเดิมเปลี่ยนเป็นแปลงสาธิตการจัดการดิน น้ า ปุ๋ยเ พื่อผลิตสมุนไพรคุณภาพสูง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรได้มีข้อมูลใน
การด าเนินการ เพื่อขยายผลไปยังเกษตรกรในพื้นที่ให้มีรายได้ในการปลูกพืชสมุนไพรที่ปลอดภัย มีรายได้ต่อเนื่องในการท า
อาชีพเสริม จึงมีการพัฒนาต่อยอดให้จังหวัดชัยนาทเป็นเมืองสมุนไพรด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการน าสมุนไพรไทย
มาใช้อย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ าคือ การส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกสมุนไพรตามความต้องการของจังหวัด ในแปลงปลูกที่ได้
มาตรฐานภายในระยะ ๕ ปี โดยมีเป้าหมายด าเนินการ มีพื้นที่ปลูกสมุนไพรที่ได้มาตรฐานจากแปลงปลูกมาตรฐาน GAP /
GACP / Organic อย่างน้อยร้อยละ ๑๐ ต่อปี มีเกษตรกร ชุมชน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรได้รับการพัฒนา
ศักยภาพรองรับการแข่งขันและพัฒนาศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์ทรัพยากรพืชสมุนไพรในท้องถิ่นจังหวัดชัยนาท ตามโครงการ
อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชด าริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชัยนาท ส่วนกลาง
น้ าได้แก่ มีการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรที่ได้มาตรฐานปลอดภัยจากการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และโลหะหนักการวิจัยพัฒนายา
สมุนไพร และผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงการยกระดับมาตรฐานการผลิตยาสมุนไพร GMP เป็นมาตรฐาน PIC/S และการสร้าง
ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ สู่ Chainat Brand ส่วนปลายน้ า ได้แก่ การน าสมุนไพรไปผลิตยาสมุนไพรใช้ในสถานพยาบาล
ทั้งภาครัฐและเอกชน ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของชุมชนหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งต าบล (OTOP) และสปา ในชุมชนที่มีคุณภาพเป็นการ
สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชน มียาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้มาตรฐาน ใช้ในโรงพยาบาลและสถาน
บริการในทุกระดับรวมถึงการจ าหน่ายยาสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สมุนไพรในชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัด รวมถึงการ
ส่งเสริมการฝึกทักษะการใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน และการนวดแผนไทยในเด็กนักเรียนเพื่อให้มีความสามารถดูแลสุขภาพ
บุคคลในครอบครัว (หมอน้อย) จึงเป็นการส่งเสริมการฝึกทักษะให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถการใช้สมุนไพรท้องถิ่น
ที่มีความครอบคลุมมิติด้านสุขภาพโดยอาศัยศาสตร์ องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย มาสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
ของนักเรียน และครอบครัว ชุมชน ให้สามารถ น าความรู้ และทักษะการใช้สมุนไพร โดยเฉพาะนักเรียนจะได้รับการปลูกฝัง
ทัศนคติ ฝึกทักษะและพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม รวมถึงเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีความรัก ความอบอุ่น และการดูแล
สุขภาพบุคคลในครอบครัว เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะใช้ให้ส่งเสริมสุขภาพการฟื้นสภาพของสมาชิกในครอบครัวนักเรียน ให้มี
สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
เพื่อเป็นทางเลือกของเกษตรกรให้หันมาปลูกพืชสมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐานแทนการปลูกข้าว มีต้นทุนในการ
ผลิตสูง และเพื่อส่งเสริมตลาดวัตถุดิบสมุนไพร และยาสมุนไพรไทยเพื่อความยั่งยืนของระบบสุขภาพ และสร้างรายได้ให้กับ
ประชาชนด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกพืชสมุนไพรที่มีคุณภาพเพื่อเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ในครัวเรือน ตลอดจน
ส่งเสริมให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ลดปริมาณการจ่ายยาแผนปัจจุบันหลายชนิด และยาแผนปัจจุบันจากต่างประเทศ
“ขมิ้นชัน” ถูกจัดอยู่ในต ารับยาสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณป้องกันและรักษาโรคต่างๆ โดยองค์การเภสัชกรรมยังได้ยก
ให้ขมิ้นชันเป็น "มหัศจรรย์สมุนไพร" สถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท จึงมีความต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชสมุนไพรที่
มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
ซึ่งขมิ้นชันมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดอาการอักเสบ และลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ท าให้มีการน าขมิ้นชันมา
ประยุกต์ใช้ในอาหารและยาอย่างแพร่หลาย ทั้งทางด้านสุขภาพ และท าผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ สร้างรายได้ให้กับประชาชน
ตลอดจนส่งเสริมให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ลดปริมาณการจ่ายยาแผนปัจจุบันหลายชนิด และยาแผนปัจจุบันจาก
ต่างประเทศ