หมอดินอาสาดีเด่น กรมพัฒนาที่ดิน ประจำปี 2567
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8


ชื่อ : นายคำหล้า ค่ายคำ
ตำแหน่ง : หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน
ที่อยู่ : ตำบลน้ำไคร้ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
รางวัลและประกาศเกียรติบัตร :
1. รางวัลเกษตรกรผู้ถือบัตรดินดีต้นแบบ สถานีพัฒนาที่ดินอุตรดิตถ์ เป็นผู้มีแบบอย่างในการนำความรู้จากบัตรดินดีไปพัฒนาทรัพยากรดินให้เห็นผลในเชิงประจักษ์ ปี 2565 กรมพัฒนาที่ดิน
2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง เกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม การคัดเลือกเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร และสถาบันเกษตรกรดีเด่น ระดับจังหวัด ปี 2565 จังหวัดอุตรดิตถ์

ลักษณะพื้นที่ ปัญหาของดิน และแนวทางในการแก้ปัญหาพื้นที่ดิน
           นายคำหล้า ค่ายคำ หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน บ้านนากล่ำ ตำบลน้ำไคร้ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ อายุ 53 ปี มีพื้นที่ทำการเกษตรจำนวน 14 ไร่ 28 ตารางวา แบ่งพื้นที่ทำการเกษตร ปลูกพืชหลากหลาย ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว หอมแดง กระเทียม มะม่วง ลำไย มะนาว กล้วย ส้มโอ หน่อไม้ มะขามเปรี้ยว และผักสวนครัว มีการเลี้ยงสุกร ไก่พื้นเมือง ไก่ไข่ ห่าน วัวพื้นเมือง ปลา สำหรับข้อมูลดินจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 35 ประกอบด้วย 3 หน่วยแผนที่ดิน คือ 1) AC-spd,col-slA/d5.E0 ดินตะกอนน้ำพาเชิงซ้อนที่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลวและเป็นดินร่วนปนทรายหยาบ เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ความลาดชัน 0 - 2 เปอร์เซ็นต์ เป็นดินลึกมาก 2) Pae-mw-slB/d5.E0 ชุดดินแพร่ที่มีการระบายน้ำดีปานกลาง เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ความลาดชัน 2 - 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นดินลึกมาก 3) Ws-vd.gm-clB/d5.E0 ชุดดินวังสะพุงที่เป็นดินลึกมาก และมีจุดประสีเทา เนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ความลาดชัน 2 - 5 เปอร์เซ็นต์ สำหรับปัญหาดินในการทำการเกษตร ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีโครงสร้างแน่นทึบ ทำให้การซึมผ่านของน้ำไม่ดี รากพืชไม่สามารถชอนไชได้ การขุด และไถพรวนทำได้ยาก โดยจากผลการวิเคราะห์ดินแปลงข้าวก่อนการดำเนินการ (ปี 2563) พบว่า ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 5.7 จัดอยู่ในระดับกรดเล็กน้อย ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน 0.9 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในระดับต่ำ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับต่ำมาก และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ 16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับต่ำ
           การจัดการดินในการทำการเกษตร ได้น้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ขุดสระเก็บกักน้ำ เก็บน้ำและเลี้ยงสัตว์ ส่วนที่ 2 ปลูกข้าวในฤดูฝน ส่วนที่ 3 ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร เป็นต้น ส่วนที่ 4 เป็นที่อยู่อาศัยเลี้ยงสัตว์ โรงเรือน และอื่น การปรับปรุงบำรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปลูกพืชปุ๋ยสดหลังเก็บเกี่ยวข้าวและพืชไร่ ผลิตและใช้ปุ๋ยหมักจากเศษพืชในแปลง และการใช้โดโลไมท์เพื่อปรับสภาพดินที่เป็นกรด การทำปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปปเปอร์ พด.1 น้ำหมักชีวภาพจากผักบุ้ง แตงโม ผลไม้อื่น ๆ โดยใช้สารเร่งซุปปเปอร์ พด.2 และสารป้องกันแมลงศัตรูพืชโดยใช้สมุนไพร จากสารเร่งซุปปเปอร์ พด.7 การใช้โปรแกรม Ldd on farm และบัตรดินดีในการวางแผนการใช้ที่ดินในพื้นที่ การใช้หญ้าแฝกในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินบริเวณรอบขอบสระ และปลูกรอบไม้ผลเพื่อช่วยในการรักษาความชื้นและฟื้นฟูทรัพยากรดิน การห่มดินด้วยฟางข้าวและเศษพืชเพื่อรักษาความชื้นในดิน การใช้ถ่านไบโอชาร์ โดยการนำถ่านไบโอชาร์ผสมคลุกเคล้ากับดิน การผลิตลําไยนอกฤดู การทำน้ำหมักสมุนไพรรสเปรี้ยว สูตรเด็ดไล่แมลง จากมะนาว 3 - 10 กิโลกรัม กากน้ำตาล 1 - 3 กิโลกรัม น้ำเปล่า 10 - 30 ลิตร หมักทิ้งไว้นาน 3 เดือน ฉีดพ่นน้ำหมักสมุนไพร 1 ส่วน : น้ำเปล่า 10 ส่วน ทุกๆ 3 วัน
           หลังจากการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 800 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นต้น ผลตอบแทน (ปี 2566) 139,242 บาท จากผลสำเร็จนี้จึงได้มีการถ่ายทอดองค?ความรู?ให?แก?เกษตรกร โดยเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน และจัดตั้งให้เป็นจุดเรียนรู้ทฤษฎีใหม่